15 June 2016

For your phones

I saw this below story before. It's about coltan (a mineral) extraction for mobile phones that cause wars, rape and humans and wild nonhumans massacre.

Not only about this coltan story, telephone poles cause birds to loose their navigation, sweatshops and  conditions of workers in phone factories, e-waste.

And of course, to save money for necessary and good things, instead of updating your phone all the time.

While reading this and looking at these pictures, it made me scream in my throat.

ไม่ซื้อ...ไม่ตาย(อยากให้ทุกคนได้อ่าน)



1,222,245,200,000 คือ
ยอดขายโทรศัพท์มือถือในปี 2551

จากสถิติ ของ Worldwatch Institute ระบุว่า

ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง
ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 14 เดือน ก่อนจะเปลี่ยนเครื่องใหม่
นับว่าน้อยกว่าอายุการใช้งานจริงที่ควรจะเป็น
ทั้งๆ ที่มือถือยุคใหม่ไม่ได้ทำอะไรออกมาสนองความต้องการมากนัก
ในกลุ่มผู้ใช้มือถือที่เห็นเป็นเพียงอุปกรณ์เสริมความมั่นใจ ระยะเวลาในการใช้งานอาจน้อยไปกว่านั้นด้วยซ้ำเพราะเปลี่ยนเครื่องใหม่ทุกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในเทรนด์
และได้ของที่ฉลาดสุดๆ อยู่ในมือ



ตัวเชื่อมของมือถือกับสงครามครั้งร้ายแรงที่สุด
ในประวัติศาสตร์แอฟริกาคือ โคลัมไบต์-แทนทาไลต์
หรือแร่โคลแทนที่พบมากในแอฟริกากลาง แน่นอนว่า...ในคองโก
คุณสมบัติทนความร้อนสูง ทำให้ผงแทนทาลัมที่สกัดได้จากโคลแทน
กลายเป็นวัตถุดิบจำเป็นในมือถือ
คอมพิวเตอร์ เพลย์สเตชั่น ฯลฯ
จึงทำให้โคลแทนกลายเป็นของมีค่าเปรียบเสมือน "Black Gold" ทองสีดำ
การลักลอบทำเหมือง และส่งออกโคลแทน
กลายเป็นแหล่งหารายได้ ที่เติมเชื้อไฟให้กับ
สงครามคองโกครั้งที่ 2 หรือ "สงครามโลกแอฟริกา"
ทำให้แร่สีดำชนิดนี้
กลายเป็นโคลทานสีเลือด Blood Coltan


ในบรรดาประเทศทั้ง 8 ที่ติดหล่มสงคราม และกองกำลังติดอาวุธกว่า 20 กลุ่ม
หลายกลุ่มหาผลประโยชน์จากพื้นที่่คองโก
ที่ประเมินว่ามีแร่โคลแทนมากถึง 80% ของปริมาณโคลแทนในโลก


การโลกกลายเป็นดิจิตัล ทำให้ถนนทุกสายมุ่งไปที่ผืนดินคองโก

กองกำลังประชาธิปไตยปลดปล่อยรวันดาหรือ FDLR ที่มีชาวฮูตูเป็นแกนนำ
เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด
ของการทำเหมืองแร่ในคองโกอย่างผิดกฏหมาย
แม้จะต้องเสี่ยงจากการถูกปราบปรามจากรัฐบาลคองโก แต่ FDLR และอีกหลายกลุ่ม
ก็เห็นว่าเป็นความเสี่ยงที่คุ้มค่าอยู่ดี
เพราะแทนทาลัมเพียง 1 ปอนด์ทำเงินร่วมหมื่นบาท
แทนทาลัม 1 ปอนด์ เป็นได้ทั้งตัวเก็บประจุในโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่
และสามารถแปลงเป็น ปืนไรเฟิลรุ่น AK-47 พร้อมกระสุนให้กับกองกำลังติดอาวุธ

มิหนำซ้ำในกระบวนการร่อนแร่หาโคลแทน
แรงงานที่ถูกบังคับให้ทำเยี่ยงทาส ก็คือเด็กๆ ชาวคองโก
ซึ่งองค์การสหประชาชาติรายงานว่า ในบางพื้นที่ของคองโกในเด็ก 100 คนจะมี 30 คน ที่ต้องใช้เวลาทั้งวัน
ไปกับการแยกโคลแทนออกจากเศษหินอื่นๆ
เงินค่าจ้างไม่ถึง 35 บาท ต่อการหาโคลแทนให้ได้ 1 ปอนด์




เรื่องมือถือเปื้อนเลือดได้รับการพูดถึงเมื่อหลายปีก่อน
บริษัทระดับโลกอย่าง Nokia, Ericsson, Motorola, Acer, Compaq
ออกมาปฎิเสธเสียงแข็งว่า โคลแทนที่ใช้ในการผลิตของตน
ไม่ได้มาจากคองโก แต่มีซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้หามาให้

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะบอกได้ว่า
แทนทาลัมในมือถือที่พกติดตัวจนกลายเป็นอวัยวะที่ 33
นั้น มาจากคองโกหรือเปล่า

การตรวจสอบเส้นทางของแทนทาลัมนั้น ต่อให้ใช้วิธีตามไปดูถึงที่แบบกบนอกกะลา
ก็ยังไม่สามารถบอกที่มาได้
โคลแทนได้ถูกลักลอบเอาออกนอกคองโกเข้าสู่ตลาดมืด
และขายทอดต่อไปเรื่อยอีกอย่างน้อย
10 ทอด
กว่าจะไปถึงผู้จัดหารายใหญ่ ที่บริษัทใหญ่ๆ เลือกเป็นคู่ค้า

มีความพยายามทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้วัตถุดิบมารองรับความต้องการการซื้อมือถือในตลาดโลก

นอกจากจะมีส่วนสร้างประวัติศาสตร์เลือดให้กับอัฟริกาแล้ว
ยังส่งผลร้ายต่อสัตว์ป่าด้วย สัตว์ป่าน้อยใหญ่ กอริล่า และช้างป่านับพัน
ถูกฆ่าจากการถูกบุกรุกโดยมนุษย์เพื่อหาโคลแทน






เพราะในพื้นที่ขุดหาโคลแทนนั้น คือ บ้านของกอริลล่าภูเขา
ที่เหลืออยู่บนโลกนี้ไม่กี่ร้อยตัว

สัตว์ร่วมวงษ์กับมนุษย์ ที่แสนจะขี้อาย สุภาพ
ไม่เพียงถูกเหมืองคุกคามถิ่นที่อยู่
คนทำเหมืองยังล่าพวกมันเอาหัว บางทีก็ชำแหละนำเนื้อมากินด้วย





สวนสัตว์ในแอฟริกาหลายแห่ง รณรงค์การรีไซเคิลมือถือ
เพื่อลดอัตราการใช้โคลแทนในการผลิตมือถือใหม่
ด้วยหวังจะชะลอการสูญพันธุ์ของกอริลล่าภูเขาในคองโกได้บ้าง

แต่ดูเหมือนไม่ทันต่ออัตราการเติบโต
ของอุปกรณ์ที่เป็น “มากกว่าใช้พูด” แต่ส่วนใหญ่” ก็ใช้แค่พูด”เท่านั้น

ในทวีปแอฟริกาเอง พิษภัยจากมือถือคุกคามชีวิตและทรัพยากรของตนเอง
แต่อัตราการใช้มือถือก็เพิ่มขึ้ 1000%
เช่นเดียวกับจำนวนคนบริสุทธิ์ที่่ล้มตายลงในสงครามกลางเมืองคองโก

ประมาณการว่า
นับแต่ปี 2547 ซึ่งเป็นปียุติสงครามอย่างเป็นทางการ
ยังมีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงรูปแบบต่างๆถึงเดือนละ 45,000 คน
หรือปีละ 540,000 คน
ตัวเลขนี้ยังไม่รวมถึง
ผู้หญิงหลายหมื่นที่ถูกทารุณทางเพศโดยกลุ่มติดอาวุธต่างๆ พวกเธอยังไม่ตาย





1,222,245,200,000 กับ 540,000 อาจมีหน่วยนับต่างกัน
แต่อัตราการขยายตัวกลับแปรตามกันอย่างน่ากลัว

ถ้าความอินเทรนด์ของคุณ นำมาซึ่งตัวเลขที่มีหน่วยศพเพิ่มมากขึ้น
คุณยังอยากเปลี่ยนมือถือทัชสกรีนมาใช้เล่นอีกสักเครื่องไหม !?!

จากคอลัมภ์ "
ไม่ซื้อ..ไม่ตาย" นิตยสาร ค คน

No comments:

Post a Comment